Knurling คืออะไร
การพิมพ์ลายบนเครื่องกลึง
งานพิมพ์ลาย (Knurling)
ลายบนผิวงานเป็นกรรมวิธีที่ใช้ล้อพิมพ์ลาย (knurling tool) กดลงบนผิวงานทรงกระบอก
(cylindrical) ด้วยแรงกดที่มากจนเป็นลายแบบต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นส่วนจับงานหรือเพื่อให้ผิวงานสวยงาม
ลักษณะลายจะมีทั้งแบบลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน (diamond) ลายตรง (straight) ลาย
สี่เหลี่ยม (square) ซึ่งลายแต่ละแบบจะมีทั้งลายหยาบ (coarse) ลายปานกลาง (medium) และลายละเอียด
(fine)
การพิมพ์ลายบนเครื่องกลึงมีเทคนิคการปฏิบัติงานดังนี้
1) จับงานบนเครื่องกลึงด้วยหัวจับสามจับหรือสี่จับให้มั่นคง อาจจะมีการกลึงปอกให้ได้
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่กำหนด และกำหนดระยะความยาวที่ต้องการพิมพ์ลาย ระวังถ้างานที่ต้องการพิมพ์
ลายมีขนาดเล็กหรือขนาดระหว่างส่วนที่พิมพ์ลายกับส่วนที่กลึงปอกมีขนาดแตกต่างกันมาก ให้ทำการพิมพ์
ลายก่อนแล้วจึงกลึงปอก เพื่อป้องกันงานหักหรือคดงอขณะพิมพ์ลาย
2) ความเร็วรอบในการพิมพ์ลายจะใช้ประมาณ 1 ใน 3 ของการกลึงปอกและอัตราป้อน
งานก็ช้าด้วย
3) เลือกล้อพิมพ์ลายที่มีลายและขนาดต้องการและล้อลายต้องคม แล้วตั้งล้อพิมพ์ลาย
(knurling tool) บนป้อมมีด โดยให้ปลายยันศูนย์ท้ายแท่นอยู่ที่ศูนย์กลางของล้อพิมพ์ลายทั้งสอง ซึ่งล้อ
พิมพ์ลายบนจะอยู่เหนือศูนย์กลางงานและล้อพิมพ์ลายล่างอยู่ต่ำกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางงาน
4) ตั้งล้อพิมพ์ลายให้ล้อลาย (rolls) ตั้งฉากกับงาน โดยนำข้างล้อพิมพ์ลายไปเทียบกับ
ผิวหน้าของจานขับ หรือเทียบกับผิวหน้าของเพลายันศูนย์ท้ายแท่น หรือใช้การสังเกตว่าล้อลายสัมผัสกับผิว
งานเต็มหน้าล้อลาย
5) ทดลองพิมพ์ลาย โดยปลดเกียร์ว่างให้หัวจับงานหมุนฟรีแล้วใช้มือหมุนหัวจับงาน
พร้อมกับป้อนล้อพิมพ์ลายให้กินงานเล็กน้อย แล้วเลื่อนล้อพิมพ์ลายไปด้านข้างทางหัวเครื่องช้า ๆ
หยุดการหมุนแล้วสังเกตลายที่เกิดขึ้น ถ้าลายขึ้นคมชัดเป็นขนมเปียกปูนหรือลายขนาน
แสดงว่าเป็นลายถูกต้อง แต่ถ้าลายขึ้นเพียงเส้นเดียวในขณะที่ลายไขว้มีหลายเส้นและไม่ชัด แสดงว่าเป็น
ลายไม่ถูกต้อง
สาเหตุที่ลายขึ้นไม่เท่ากันเพราะแรงกดไม่เท่ากัน ให้พิจารณาว่าลายที่ซ้อนกันเป็นของล้อ
ลายบนหรือล้อลายล่าง ถ้าล้อลายล่างให้รองล้อพิมพ์ลายสูงขึ้นอีกเล็กน้อย ถ้าเป็นของล้อบนให้ลดความสูง
ของล้อพิมพ์ลายลงเล็กน้อย แล้วทดลองพิมพ์ลายในบริเวณใหม่บนชิ้นงาน
การแก้ปัญหาลายขึ้นไม่เท่ากันอีกวิธีหนึ่งคือ การเอียงล้อลายให้ทำมุมกับผิวงาน โดย
ทดลองทำมุมต่าง ๆ จนได้ลายที่ปรากฏขึ้นเท่ากัน
6) เมื่อลายขึ้นถูกต้องให้ป้อนกินงานลึกอีกเล็กน้อยแล้วเปิดสวิตซ์เครื่องกลึง ค่อย ๆ ป้อน
ล้อพิมพ์ลายกินงานไปทางหัวเครื่องจนถึงตำแหน่งที่ต้องการ ขณะนี้ควรหล่อลื่นด้วยน้ำมันตัดและใช้แปลง
ลวดปัดล้อพิมพ์ลายและงานด้วย เมื่อถึงตำแหน่งให้ให้ป้อนล้อพิมพ์ลายกลับจึงถึงขอบงานแต่ล้อพิมพ์ลาย
ไม่ตกขอบงานและป้อนกินลึกอีก ปฏิบัติเช่นนี้จนได้ลายที่คมชัดและสวยงาม ระวังอย่าให้ล้อพิมพ์ลายตก
จากขอบงานเป็นเด็ดขาดและไม่ควรป้อนลึกเกินครั้งละ 0.50 มม.
ถ้าจะป้อนล้อพิมพ์ลายอัตโนมัติให้ใช้อัตราป้อนที่ช้ากว่าการกลึงปอก
จำหน่าย ด้ามกลิ้งลาย Knurling Holder
ล้อกลิ้งลาย (ลายตรง ลายไขว้) ใช้งานง่าย กลิ้งลาย (ใช้กับเครื่องกลึง)ลายกันลื่น